เมนู

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้. บัดนี้พระเถระเมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นหลัก ใน
ความไม่ต้องการ ด้วยลาภคืออามิสนั้น จึงกล่าวว่า เรามีความสุขพอเพียงแล้ว
อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ดังนี้. อธิบายว่า เราอิ่มเอิบแล้ว คือยินดีแล้ว
คือถึงความสุข ได้แก่ มีความพอใจโดยมีสุข ด้วยรสแห่งโพธิปักขิยธรรม
37 ประการ และด้วยรสแห่งโลกุตรธรรม 9.
บทว่า ปิตฺวา รสคฺคมุตฺตมํ ความว่า ดื่มรสแห่งพระธรรมอันสูงสุด
ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า เลิศ คือประเสริฐที่สุดในรสทั้งปวงเท่านั้นดำรงอยู่แล้ว.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสแห่งพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ดังนี้. บทว่า น จ กาหามิ วิเสน สนฺถวํ ความว่า การดื่มรสพระ
ธรรม อันเป็นรสล้ำเลิศเห็นปานนี้ ตั้งอยู่แล้วจักไม่ทำความสนิทสนม คือ
การคลุกคลีด้วยรสอื่น คือรสอันเป็นพิษ เช่นกับยาพิษ อธิบายว่า ไม่มีเหตุ
ให้ต้องกระทำอย่างนั้น.
จบอรรถกถาพันธุรเถรคาถา

4. ขิตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ


[241] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กายของเราเป็นกายเบาหนอ อันปีติและสุขอย่าง
ไพบูลย์ถูกต้องแล้ว ย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนนุ่น ที่
ถูกลมพัดไป ฉะนั้น.